บายศรี เครื่องบูชาชั้นสูง
ประวัติความเป็นมา
บายศรีจัดเป็นของสูงที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตคนไทยมายาวนานจากอดีตกาลจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเครื่องบูชาบายศรี เป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการทำพิธีกรรม ของศาสนาพราหมณ์ และชีวิตคนไทยเองจากการที่เป็นชาวพุทธซึ่งมีพิธีการสอดคล้องกับศาสนา พราหมณ์ จึงมีการนำบายศรีมาใช้ในพิธีการต่างๆ ประจวบกับคนไทยมีความสามารถในการประดิษฐ์ งานศิลป์ ต่างๆมากมาย ดังนั้นเมื่อมีการนำใบตองมาบรรจงพับเป็นบายศรี จึงเป็นที่ขึ้นชื่อถึงความสวยงามและวิจิตรกาล โดยมีการกล่าวถึง นางนพมาศ ในสมัยสุโขทัย มีการนำใบตองมาบรรจงพับกลีบ เป็นกระทงและบายศรีได้อย่างวิจิตร ตระการตา
จากอดียมีการเล่าถึงการทำบายศรี ของประเทศไทย จากการเล่าเรื่องของคุณ อุมาวดี ทรัพย์สิน โดยได้เล่าความถึงสมัยก่อนสุโขทัย ในพื้นแผ่นดินนี้เรียกว่าดินแดนสุวรรณาภูมิ ศรีทราวดี หรือเมืองสี รุ้ง ซึ่งเป็นยุคที่รุ่งเรื่อง สมัยนั้น แผ่นดินนี้เป็นยุคที่เรื่องอำนาจของอาราจักรขอม โดยสังเกตเห็นจะมีปราสาท หินจำนวนมากสร้างขึ้นเพื่อศักการะ เทพเจ้า โดยในสมัยก่อน คนที่จะทำพิธีกรรมต่างๆ จะต้องเป็นชนชั้นกษัตริย์เท่านั้น โดย นางทราวดี พระราชธิดา แห่งเมืองศรีทราวดี ได้ประดิษฐ์กระทงจากใบตองพับกลีบ แซมด้วยดอกไม้ใบไม้และถวายต่อองค์ทวยเทพ ต่างๆ ยาวนานมาจน ศาสนาพุทธ ก่อกำเนิดขึ้น คนไทยเองก็จับพิธีการ ต่างของศาสนาพราหมณ์ มาร่วมกับศาสนาพุทธ จนมาถึงปัจจุบัน
บายศรี แบ่งแยกคำออกเป็น คำว่า “ บาย ” เป็นภาษาเขมร แปลว่า ข้าว และ ศรี เป็นภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลี ว่า สิริ รวมแล้ว มีความหมายว่า ข้าวขวัญหรือข้าวที่มีความสิริมงคล ชาวเหนือหรือชาวล้านนา จะเรียกว่า ใบสี หรือใบสรี อาจมาจากการนำใบตองมาเย็บกลีบเรียงแถว ลักษณะเหมือนนมแมว และเรียกพานบายศรีว่า ขันใบสี ส่วนคนอีสาน จะเรียกว่า พาขวัญ หรือ หมากเบ็ง ในสมัยโบราณจะเรียกพิธีการว่า พิธีสู่ขวัญ ว่า บาศรี เพราะเป็นพิธีการที่ใช้กับเจ้านาย คำว่าบา ในภาษาสันสกฤต มาจากคำว่า บ๋า ซึ่งแปลว่า การบนบาน และหลายท้องถิ่นก็เรียกว่า สู่ขวัญ หรือ สูดขวัญ
สำหรับความหมาย ของ บายศรี ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พศ 2542 ให้ความหมายของบายศรี ว่า เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญทำด้วยใบตองมีลักษณะคลายหระทงมีหลายชั้น 3 ,5 ,7 9 ขึ้นกับระดับความสำคัญภายในบายสรีจะมีของสังเวยบรรจุอยู่ โดยบายศรีสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. บายศรีของหลวง
ได้แก่บายศรีที่ใช้ใน พระราชพิธี อันเนื่องเกี่ยวเนื่องกับพระมาหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ จากโบราณราชประเพณี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 บายศรี สำรับใหญ่ ประกอบด้วยบายศรีแก้ว มีลักษณะเป็นพานแก้ว 5 ชั้น บายศรีทอง ใช้พานทอง 5 ชั้น และบายศรีเงิน ใช้พานเงิน 5 ชั้น โดยการวางตำแหน่ง บายศรีแก้วไว้ตรงกลางและ บายศรีทอง อยู่ข้างขวามือ และบายศรีเงินอยู่ด้านซ้ายมือ ภายในบายศรีแต่ละอันจะบรรจุเครื่องเซ่นไหว้ ขนมไทยโบราณที่เป็นสิริมงคล
2.บายศรี สำรับเล็ก เหมือนเช่น สำรับใหญ่แต่มีเพียง 3 ชั้น ใช้สำหรับพิธีทำขวัญขนาดเล็ก
3.บายศรี ตองรองทองขาว เป็นบายศรีขนาดใหญ่ มีขนาด 5 ชั้น และ 7 ชั้น โดยใช้พานรองเป็นทองคำขาว ซึ่งจะใช้ร่วมกับ บายศรีใหญ่ และบายสำรับเล็ก แล้วแต่จะใช้กับพระรามพิธีใด เช่น พระราชพิธีสมโภชพระขวัญ
2 บายศรีของราษฏร์
1 บายศรี ปากชาม เป็นบายศรีขนาดเล็ก ใส่ปากชามขนาดย่อม หรือกระทงใบตอง กล้วยตัดท่อนตามแบบโบราณ มีกรวยข้าวอยู่ตรงกลาง และมีกล้วยและแตงกวาหันแว่น ประกบข้างแต่ละนิ้ว บายศรี
2. บายศรีใหญ่ เป็นบายศรีขนาดใหญ่ จัดทำใส่ภาชนะต่างๆ เช่นโกหรือตะลุ่ม หรือพาน จะใช้หลายชั้นหรือชั้นเดียวแตกต่างกันไป สำหรับ บายศรีต้นหรือหรือบายศรี หรือ บายศรีหลัก จะมีแกนต้นตรงกลางแน่นหนา อาจมี 3 ,5 7 ชั้น โดยจะใส่เครื่องสังเวยและขนมที่เป็นสิริมงคล
|
|
|
|
|
29ต้น - 20,000 บาท |
1 ต้น = 13500 บาท |
9500 บาท |
20000 บาท |
18000 บาท |